[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง
  
แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2558  
 

แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2558

 
 

นโยบาย สพฐ. 2558

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท
เป้าประสงค์ที่ 1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยและได้สมดุล และนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยและมีคุณภาพ

กลยุทธ์
1. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท ให้มีประสิทธิภาพ
2. ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และ สาธารณชน มุ่งพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับวัยทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นของนักเรียนที่สถานประกอบการต้องการและที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
3. สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณ ในรูปแบบที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ รวมถึงระดับและประเภทของผู้เรียน
4. ส่งเสริมการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมท้องถิ่น และผู้เรียน
5. ใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6. จัดระบบนิเทศ ติดตามผล และรายงานผล ให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม และหลากหลายมิติ เน้นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
7. สนับสนุนให้มีการแนะแนวผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจในการเรียนเพื่อการเรียนต่อและการมีอาชีพสุจริตเพื่อความมั่นคงในชีวิต ด้วยผู้แนะแนวที่หลากหลาย เช่น ครู ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งที่เป็นผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ผู้ที่ทำงานสถานประกอบการใน/นอกพื้นที่
8. ส่งเสริมสนับสนุนการนำการทดสอบ O-NET การประเมินของ PISAและระบบการทดสอบกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
9. ส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ให้มีความเข้มแข็งเพื่อรองรับการประเมินภายนอก
10. จัดระบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีการเรียนการสอนทั้งวิชาสามัญ และวิชาชีพ เพื่อรองรับการมีอาชีพตั้งแต่การเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
11. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาอาเซียนอย่างน้อย ๑ ภาษา เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และสู่มาตรฐานสากล
12. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเรียนต่อ ให้มีวิธีการคัดเลือกที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกเหนือจากการวัดความรู้ และความสามารถในการสอบแข่งขัน


ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขยายโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพ
เป้าประสงค์ที่ 2 ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค
เป้าประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ นักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ
2. สนับสนุนการบริหารจัดการงบประมาณ ประเภทงบเงินอุดหนุนรายหัวให้ผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้แบบตามตัวผู้เรียน (Demandside Financing) มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกระดับ และทุกประเภท มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ เรียนจนจบหลักสูตร มีโอกาสเรียนต่อ มีอาชีพที่สุจริตและมั่นคงในชีวิต
4. สนับสนุนโรงเรียนดีมีคุณภาพ ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ให้เป็นโรงเรียนที่มีรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด อำเภอ ตำบล
5. สนับสนุนให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่พิเศษมีโอกาสจัด การศึกษาด้านวิชาชีพ ทั้งที่จัดเอง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นการสร้างอาชีพสุจริตให้กับผู้เรียน
6. ส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบปกติรูปแบบเพื่อความเป็นเลิศ รูปแบบเพื่อเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และรูปแบบการศึกษาทางเลือก จัดให้มีความเหมาะสมและเต็มศักยภาพของผู้เรียนและยังคงระดับคุณภาพตามมาตรฐาน
7. ส่งเสริมสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความเข้มแข็งและต่อเนื่อง
8. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแนวทางการดูแลช่วยเหลือและจัดการศึกษาที่เหมาะสม แก่เด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร์เช่น บุตรหลานของแรงงานต่างด้าว เด็กไร้สัญชาติเด็กพลัดถิ่น เด็กต่างด้าวเด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน


ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 3 ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นมีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
เป้าประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

กลยุทธ์
1. พัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะของครู ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
1.1 เผยแพร่องค์ความรู้ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม วิธีการจัดการเรียนการสอน การ พัฒนาการคิด และการวัดประเมินผล ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
 1.2 พัฒนาครูที่มีอยู่ให้สามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี
 1.3 ส่งเสริมระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรโดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู ทั้งในโรงเรียนเดียวกันหรือระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่น ๆตามความพร้อมของโรงเรียน
1.4 ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน ระหว่างโรงเรียน หรืออื่น ๆ และในองค์กร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกหน่วยงาน
1.5 ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี
2. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน
3. เสริมสร้างระบบแรงจูงใจ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีขวัญกำลังใจในการทำงานสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
3.1 ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่เป็นครูมืออาชีพ และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ทั้งด้าน
1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2) การดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
3) การมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม
3.2 ส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและรายได้ของครู
4. ประสานและสนับสนุนให้กับองค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมและจัดสรรครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และสังคม
4.1 สร้างความตระหนักกับองค์กรที่มีบทบาทโดยตรงกับการบรรจุครูในพื้นที่ ถึงความจำเป็นต้องจัดสรรครูให้ตรงวิชาที่โรงเรียนขาดแคลน
4.2 สร้างค่านิยมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ให้รับผิดชอบต่อผลด้านคุณภาพของการจัดการศึกษา
4.3 ประสานสถาบันอุดมศึกษาผลิตครูที่มีวิชาเอกตรงกับความต้องการและสามารถจัดการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้


ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
เป้าประสงค์ที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพระดับมาตรฐานสากล
เป้าประสงค์ที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบูรณาการการทำงาน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม กระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ

กลยุทธ์
1.. กระจายอำนาจและความรับผิดชอบ
1.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีความสามารถและมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 บูรณาการการทำงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนกลาง เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพ ตามบริบทได้เพิ่มขึ้น
1.3 พัฒนาระบบติดตามตรวจสอบ การบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
1.4 สร้างเครือข่าย/กลไกที่สามารถรับรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณที่ไม่เหมาะสม/ถูกต้อง ตามหลักธรรมาภิบาลได้อย่างรวดเร็ว
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
2.1 เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหารสถานศึกษา  ถึงความจำเป็น และประโยชน์ของกาส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาการศึกษา
2.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากร
2.2.1 ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนทราบถึงความต้องการได้รับการช่วยเหลือของโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดแคลน อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
2.2.2 ประสานทุกภาคส่วนให้เข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่มีความขาดแคลนมาก
2.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบหน่วยงานในสังกัด โดยประชาชนทุกภาคส่วน
2.3.1 สร้างช่องทางรับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/เรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของโรงเรียนในท้องถิ่น และหน่วยงานในสังกัดมากขึ้น
3. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และองค์คณะบุคคล มีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3.1 ส่งเสริมให้มีการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และองค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่นักเรียนในพื้นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง
3.2 สร้างช่องทางรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง และติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง



จุดเน้น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดจุดเน้นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 จุดเน้นด้านผู้เรียน
1.1 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ สู่มาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
1.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสามารถด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม
1.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นต้นไปได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้วยการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ(ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
1.1.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ(O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
1.2 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภูมิใจในความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด มีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม
1.2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ใฝ่ดี
1.2.2 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ใฝ่เรียนรู้
1.2.3 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่อย่างพอเพียง
1.2.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความมุ่งมั่นในการศึกษา และการทำงาน

1.3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการส่งเสริม และพัฒนาเต็มศักยภาพ
1.3.1 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
1.3.2 เด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร และอัตลักษณ์แห่งตน
1.3.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมให้มีเป็นเลิศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี และศิลปะ
1.3.4 นักเรียนที่เรียนภายใต้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวสถานประกอบการ บุคคล องค์กรวิชาชีพ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรสังคมอื่น และการศึกษาทางเลือก ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
1.3.5 เด็กกลุ่มที่ต้องการการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเยียวยา ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย

ส่วนที่ 2 จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และสมรรถนะ ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
2.1.1 ครูได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการคิด การวัดประเมินผลของครู ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.1.2 ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อเทคโนโลยี
2.1.3 ครูได้รับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร โดยเขตพื้นที่การศึกษา และโดยเพื่อนครู ทั้งในโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างโรงเรียนหรือภาคส่วนอื่น ๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
2.1.4 ครูได้รับการช่วยเหลือให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ ทั้งในโรงเรียนเดียวกันระหว่างโรงเรียน หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
2.1.5 ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี
2.2 พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน
2.3 ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพ มีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม
2.4 องค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและจัดสรรครู ตระหนัก และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุใหม่/ย้ายไปบรรจุ มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ชุมชนและสังคม

ส่วนที่ 3 จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
3.1 สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน (Participation and Accountability)
3.1.1 โรงเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกและที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไขแทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และเป็นผู้ประสานงานหลักให้โรงเรียนทำแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครองชุมชน และองค์กรอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
3.1.2 สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และการมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน
3.1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดกำรอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานมีระบบการนิเทศ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลสถานศึกษาและครูที่เข้มแข็ง
3.1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิดชูเกียรติโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น/อัตราการออกกลางคันลดลง/มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง
3.1.5 องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเร่งรัดและติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งเป็นกัลยาณมิตร

3.2 สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
3.2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3.2.2 สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายใน ได้ระดับมาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหรือผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)


 

กลยุทธ์  :  สพม.13

กลยุทธ์ที่ 1  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้      
กลยุทธ์ที่ 2  ปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและห่างไกลยาเสพติด
กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และลดอัตราการออกกลางคันให้เป็นศูนย์ โดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง
กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ 
กลยุทธ์ที่ 5  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา     
กลยุทธ์ที่ 6  จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสันติสุข ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้


10  จุดเน้น  :  สพม.13
จุดเน้นที่ 1   ส่งเสริมการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
จุดเน้นที่ 2   ส่งเสริมระบบนิเทศภายในและการประกันคุณภาพภายในเพื่อรอบรับการประเมินภายนอกรอบสาม
จุดเน้นที่ 3   ส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เน้นการสร้างวินัยเชิงบวกและเพิ่มทักษะชีวิต (เพศศึกษา)
จุดเน้นที่ 4   ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์   ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย วัฒนธรรมท้องถิ่นและการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
   เศรษฐกิจพอเพียง
จุดเน้นที่ 5   เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และเน้นทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
จุดเน้นที่ 6   ส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จุดเน้นที่ 7   ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อเตรียมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน
จุดเน้นที่ 8  ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น สวยงามของสถานศึกษา
จุดเน้นที่ 9  ส่งเสริมจรรยาบรรณครู และบุคลากรทางศึกษา เพื่อการปฎิบัติงานที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จุดเน้นที่ 10 เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการยกระดับและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา



ทิศทางของโรงเรียน (วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์)

วิสัยทัศน์
โรงเรียนห้วยยอดเป็นผู้นำในด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ
1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการโดยน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยระบบคุณภาพ
2. พัฒนาครูและบุคลากร พัฒนาความคิด ความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญา เพื่อนำองค์กรสู่มาตรฐานสากล
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิด ความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญาได้มาตรฐานสากล
4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล

กลยุทธ์ของโรงเรียน
1. ส่งเสริมการบริหารการจัดการด้วยระบบคุณภาพ แบบมีส่วนร่วมเป็นระบบครบวงจร โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโรงเรียนเป็นฐาน
2. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. พัฒนาให้ครูและบุคลากรมีคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครูและนำองค์กรสู่มาตรฐานสากล
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานสากล
5. พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วม รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการศึกษาสู่มาตรฐานสากล


 

โครงการ/กิจกรรม

เงินอุดหนุน

ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ

  1. บริหารพัสดุและสินทรัพย์
  2. พัฒนาสำนักงานบริหารงบประมาณ
  3. บริหารงบประมาณค่าสาธารณูปโภค

ฝ่ายบริหารงานวิชาการ

  1. พัฒนาบุคลากรในการจัดองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
  2. พัฒนาสายสัมพันธ์สร้างฝันให้เป็นจริง
  3. ฝากลูกไว้กับโรงเรียน
  4. พัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  5. พัฒนาสำนักงานฝ่ายบริหารงานวิชาการ
  6. พัฒนาห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้
  7. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  8. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยความคิดชาญฉลาดด้วยยุทธศาสตร์ห้วยยอดโมเดล
  9. พัฒนาระบบบริหารการจัดการ

ฝ่ายบริหารงานบุคคล

  1. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากร
  2. พัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

  1. พัฒนาปรับปรุงระบบงานประชาสัมพันธ์
  2. การจัดการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม
  3. ธนาคารพอเพียง
  4. วันสำคัญ
  5. ซ่อมบำรุงและให้บริการยานพาหนะ
  6. ประกันคุณภาพสถานศึกษา
  7. พัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษา
  8. พัฒนาสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป
  9. ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาของบุคลากรในโรงเรียนห้วยยอด

ฝ่ายบริหารงานอาคารสถานที่

  1. พัฒนาอาคารเรียนและจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

  1. สู่แสงตะวัน (ซ่อมเสริมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้านภาษาไทย)
  2. ส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

  1. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
  2. กีฬาเพื่อการศึกษาด้านคณิตศาสตร์
  3. การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยค่ายคณิตศาสตร์
  4. อบรมฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม The Geometer Sketchpad (GSP) เบื้องต้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

  1. Study on tour ตามรอยตรัง
  2. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  3. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  4. เปิดประตูสู่อาเซียน  Opening  The  Door  to  Asean
  5. สังคมสัญจร  ย้อนรอยประวัติศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          พัฒนาผู้เรียนและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

  1. พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  2. กีฬายาวิเศษ
  3. กรีฑาและกีฬาระหว่างคณะสี

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

  1. ปรับปรุงห้องและจัดซื้ออุปกรณ์

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

  1. พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีก้าวสู่มาตรฐานสากล
  2. พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

  1. พัฒนาการเรียนภาษาสู่สากล

ห้องสมุด

  1. พัฒนาห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  1. กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน( แนะแนว, ชุมนุม,ลูกเสือ-เนตรนารี, ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์)
ฝ่ายบริหารงานแผนงาน
  1. พัฒนางานนโยบายและแผน
  2. จัดซื้อวัสดุกลาง (โดยผ่านพัสดุกลางโรงเรียน)

 

เงิน 15 ปีเรียนฟรีเรียนดีอย่างมีคุณภาพ

ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ

  1. บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ฝ่ายบริหารงานวิชาการ

  1. ตลาดนัดวิชาการ  (Academic  Market)
  2. จัดฐานการเรียนรู้  บูรณาการหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนและอุปนิสัยพอเพียง
  3. พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ
  4. ค่ายวิชาการ

ฝ่ายบริหารงานบุคคล

  1. พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

  1. รักการอ่าน
  2. พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

  1. Huai-Yot  Math  Day
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  1. Science  Camp
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม
  1. ค่ายพลเมิองอาเซียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา  พลศึกษา

  1. ค่ายวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

  1. ส่งเสริมความเป็นเลิศและบริการชุมชน

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

  1. ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อความเป็นเลิศมุ่งสู่สากล

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

  1. เข้าค่ายเตรียมความพร้อมสู่สากล

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  1. กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว  ชุมนุม  ลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์)

เงินบำรุงการศึกษา
ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ
จ้างบุคลากร  (ลูกจ้างชั่วคราว  เจ้าหน้าที่ธุรการ  ยาม  คนสวน  อื่นๆ) ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ห้องเรียนพิเศษ

  1. ประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (TEDET)   ประจำปีการศึกษา 2558
  2. ห้องเรียนพิเศษ

Film izleme Filmi izle Netflix film Önerileri Yerli Korku filmi Önerileri Korku Filmi Önerileri Bilim Kurgu Film Önerileri film izleme sitesi Seehdfilm Belgesel izle